โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
ข้อมูลพื้นฐาน
"กว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจะมาถึงวันนี้ได้สมาชิกสภาจังหวัดและข้าราซการ ส่วนจังหวัดในอดีตได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีผู้บริหารที่มาจากตัวแทนของประชาชน และให้มีข้าราชการส่วนจังหวัดเข้ามาปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆโดยตรงการต่อสู้ที่ว่านั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509จนกระทั่งมาถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2540 จึงประสบผลสำเร็จ"  

กำเนิดสภาจังหวัด

เมื่อปี พ.ศ. 2481 รัฐบาลสมัยนั้นได้ออกพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 ขึ้นซึ่งกำหนดให้ มี "สภาจังหวัด" เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมาได้ออกพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิก สภาจังหวัด พ.ศ.2482 กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด โดยกำหนดจำนวนสมาชิกสภาจังหวัดตามจำนวนประซากรของจังหวัดนั้น ๆ เป็นหลัก เช่น ประชากร 200,000 คน เลือกสมาชิกได้ 18 คน เกิน 200,000-500,000 คน เลือกได้ 24 คน เกิน 500,000-1,000,000 คน เลือกได้ 30 คน เกิน 1,000,000 คน เลือกได้ 36 คน ในอำเภอหนึ่งให้มี สมาชิกสภาจังหวัดได้หนึ่งคน เมื่อรวมจำนวนสมาชิกตามเกณฑ์ที่ว่าข้างต้นยังไม่ครบจำนวนก็ให้เอาจำนวนสมาชิกที่จังหวัดจะพึงมีได้ไปหารจำนวนประชากรทั้งจังหวัดได้ผลลัพธ์เท่าใดให้ถือเป็นเกณฑ์สำหรับจำนวนสมาชิกเพิ่มโดยอำเภอใดมีจำนวนประชากรมากที่สุดให้อำเภอนั้นมีสมาชิกสภาจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนแล้วให้เอาผลลัพธ์ดังกล่าวหักจำนวนประชากรของอำเภอนั้น เหลือเท่าใดให้ถือเป็นจำนวนราษฎรของอำเภอนั้น ในการพิจารณาขอเพิ่มสมาชิกที่ยังขาดอยู่ ให้กระทำดังนี้ต่อ ๆ ไปจนได้สมาชิกครบจำนวนจดหมายข่าวองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม Matasarakhan Previncisl Administrative Ogeniatior สภาจังหวัดที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 นั้น เป็นเพียงสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราซการจังหวัดขาดอำนาจหน้าที่ และกำลังเงินที่จะทำนุบำรุงท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ในปีหนึ่งๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเรียกประชุมเพียงหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง สมาชิกสภาจังหวัดทำหน้าที่เพียงเสนอความต้องการ ความขาดแคลน ความเดือนร้อนของประชาชนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดจะนำไปแก้ไขหรือไม่ สมาชิกไม่สามารถจะตรวจสอบได้
ขอบคุณภาพจาก : แผนที่ไทยดอทคอม
กำเนิดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ในช่วงปี พ.ศ. 2497 จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสไปเยือนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศแม่แบบระบอบประชาธิปไตยได้ไปเห็นรูปแบบการ ปกครองท้องถิ่นของเขา โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด จึงได้นำหลักการดังกล่าวมาปรับปรุงสภาจังหวัดให้มีอำนาจหารายได้และมีอิสระที่จะดำเนินการกิจการบางประการเองได้ โดยในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 ขึ้น โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า โดยที่พระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.2481 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ.2485 และ พ.ศ.2487 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้สภาจังหวัดเป็นเพียงสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ขาดอำนาจหน้าที่และกำลังเงินที่จะทำนุบำรุงท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
"กว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามจะมาถึงวันนี้ได้สมาชิกสภาจังหวัดและข้าราซการ
ส่วนจังหวัดในอดีตได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีผู้บริหารที่มาจากตัวแทนของประชาชน
และให้มีข้าราชการส่วนจังหวัดเข้ามาปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆโดยตรงการต่อสู้ที่ว่านั้นได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509
จนกระทั่งมาถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2540 จึงประสบผลสำเร็จ"
วิสัยทัศน์
" ประชาชนมีความรอบรู้และความสุขอย่างรอบด้าน
ท้องถิ่นเข้มแข็งอย่างยั่งยืน "
พันธกิจ
กำหนดพันธกิจเพื่อดำเนินการพัฒนา ไว้ดังนี้
  1. จัดการศึกษาท้องถิ่น บำรุงศาสนา โบราณสถาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว การกีฬา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
  3. พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมอาชีพ และให้การสังคมสงเคราะห์
  4. ส่งเสริมพัฒนาสังคม ชุมชน และจัดการด้านสาธารณสุขของท้องถิ่น
  5. จัดระบบบริการสาธารณะ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง แหล่งน้ำสาธารณะ และป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
  6. สนับสนุนความร่วมมือและบริการประชาชน หน่วยงาน องค์กรในการพัฒนาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ตามพันธกิจ
  1. การศึกษาท้องถิ่นมีคุณภาพ ประชาชนเป็นคนดีมีความรู้รอบด้าน
  2. ประชาชนในท้องถิ่นมีความสงบสุขและรักใคร่ปรองดองสมานฉันท์
  3. ประชาชนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
  4. สังคม ชุมชนในท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง
  5. ท้องถิ่นสามารถให้บริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการตนเองได้
ตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์(เชิงคุณภาพและปริมาณ)
  1. ร้อยละของผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีที่สำคัญของท้องถิ่น
  3. ร้อยละของผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณเปรียบเทียบแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
  4. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการจัดระบบบริการสาธารณะ/พัฒนาปรับปรุง ถนน แหล่งน้ำ สาธารณูปโภค
  5. ร้อยละของผลการประเมินมาตรฐานการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
  6. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการสนับสนุน ช่วยเหลือ ร่วมมือในการบริหารจัดการและพัฒนาท้องถิ่น